การกำหนดตารางการดำเนินงานการก่อสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในเชิงของการบริหารงานโครงการและการวางแผนงานในโครงการต่างๆ นอกจากนี้การกำหนดตารางการดำเนินงานดังกล่าวยังมีความสำคัญกับทั้งเจ้าของโครงการและผู้รับเหมาอีกด้วย การวางตารางการดำเนินงานที่ดีประกอบกับการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ให้ตารางการดำเนินงานทันต่อสถานะการณ์อย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา จะทำให้ท่านสามารถใช้ตารางดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดถึงความล่าช้าที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะบอกได้ว่าประเด็นปัญหานั้นๆ เป็นส่วนที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะทำงานใด
การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากเวลา (Time Impact Analysis) นั้นได้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และผลการวิเคราะห์นี้ยังสามารถนำไปใช้ฟ้องร้องในชั้นศาลได้อีกด้วย งานสัมมนานี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการวิเคราะห์ตารางการดำเนินงานเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความล่าช้าที่เกิดขึ้นกับงานโครงการ พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากสถานะการณ์จริงซึ่งนำการวิเคราะห์ดังกล่าวไปใช้จริงๆ กับโครงการก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่
ดร.อภิรักษ์ ประธีภูษานันท์ เป็นที่ปรึกษาระดับนานาชาติ ด้าน construction claim ซึ่งท่านมีประสบการณ์ มากกว่า 15 ปีในการบริหารงานโครงการขนาดใหญ่ เช่น WAGP project ที่ประเทศแอฟริกา, the Big Dig project ที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา GSA Office Building and U.S. Courthouse ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา Enron Power Plant ที่เปอร์โตริโก้ and Ronald Reagan Building ที่วอร์ชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ท่านยังเข้าร่วมงานโครงการบำบัดน้ำเสียที่ จ.สมุทรปราการ ประเทศไทย ปัจจุบัน ดร.อภิรักษ์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท Warner Construction Consultants (Thailand).