โดย Sam Finch
ในช่วงหลายปีหลังที่ผ่านมานี้ ผมพบว่าได้มีการนำหลักการบริหารจัดการโครงการไปใช้อย่างแพร่หลายในหลายส่วนงาน ซึ่งเป็นส่วนงานที่ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการโครงการมาก่อน ส่งผลให้จำนวนผู้จัดการโครงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการให้คำจำกัดความก็ยากขึ้นเช่นกัน
สำหรับประเทศไทย หลักการบริหารจัดการโครงการได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง องค์กรที่มีการนำหลักการไปใช้งานควรยึดหลักการตั้งต้น และต้องเปิดรับทฤษฎีใหม่ใหม่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม
การเพิ่มขึ้นของทฤษฎีใหม่ ทำให้เกิดการโต้แย้งในเนื้อหาของหลักการบริหารจัดการโครงการ ว่าควรมีการคิดทบทวนใหม่หรือไม่ เพราะบางทฤษฎีที่เหมาะสมอาจถูกมองข้ามไป อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของทฤษฎีใหม่ยังไม่ถูกพัฒนาในหลักการเพื่อให้เกิดความเท่าทันกับการนำไปใช้งาน จึงส่งผลให้ผู้จัดการโครงการในปัจจุบันยังไม่มีความรู้เพียงพอ ไม่ได้รับการฝึกหัด และขาดความสามารถในการเตรียมพร้อมสำหรับการบริหารจัดการโครงการในอนาคต ทั้งนี้ทั้งนั้นองค์กรยังคงมีทางเลือกในการเชื่อมต่อและลดช่องว่างระหว่างหลักการตั้งต้นและทฤษฎีใหม่
Berggren & Soderlund (2008 pp. 291) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ไว้ในงานเขียนเรื่อง Social Twist ซึ่งเป็นการนำเสนอแนวทางการเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ โดยการนำเอาทฤษฎีตั้งต้นมาคิดทบทวนใหม่ผ่านกระบวนการของการบริหารจัดการโครงการเพื่อเพิ่มศักยะภาพให้กับทฤษฎีนั้น Social Twist แบ่งออกเป็น 6 แนวทางสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ภายในแต่ละองค์กร ได้แก่
แนวทาง | เนื้อหาโดยสรุป |
รายงานสะท้อนผลการทำงานที่ผ่านมา |
การสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมา โดยการอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างการบริหารจัดการโครงการ อธิบายต้นเหตุที่ทำให้โครงการไม่เป็นไปตามแผนงาน เพื่อนำไปทำรายงานสะท้อนผลการทำงาน การสรุปบทเรียนควรทำที่ระดับบุคคลและระดับภาพรวมขององค์กร |
ตั้งเป้าหมายทีได้รับจากการเรียนรู้ |
การตั้งเป้าหมายเพื่อให้แต่ละบุคคลนำสิ่งที่ได้จากการสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมาไปพัฒนาตามที่ได้ตกลงร่วมกัน |
ทดสอบความรู้ในกลุ่ม |
การทดสอบความรู้ โดยการจัดกลุ่มให้แต่ละบุคคลได้อธิบายสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมา |
เรียนรู้จากเหตุการณ์ปัจจุบัน |
การแบ่งปันเหตุการณ์ในการบริหารจัดการโครงการปัจจุบันที่แต่ละบุคคลให้กับกลุ่มได้รับรู้ โดยให้อธิบายถึงอุปสรรคและความสำเร็จที่เกิดขึ้น แนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาแนวทางการทำงานแบบกลุ่มได้ |
จัดทำวิทยานิพนธ์ของโครงการ |
การสร้าที่ปรึกษาภายใน เพื่อการสนับสนุนปัญหาเฉพาะด้าน แนวทางนี้จะทำให้การสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมาได้รับความใส่ใจ และจะเกิดผลดีกับโครงการที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต |
แสดงความรู้ |
การสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฎิบัติงานที่ให้ผลอย่างดี ระหว่างการบริหารจัดการโครงการ และนำเสนอผู้อื่น |
นอกจาก 6 แนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ภายในองค์กรแล้ว ยังมีแนวทางจากภายนอกที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสมัยใหม่ ได้แก่ การสนับสนุนให้ผู้จัดการโครงการของท่านได้มีส่วนร่วมกับองค์กรอิสระในสายวิชาชีพ เช่น Project Management Institute Thailand Chapter
บทความนี้ได้นำเสนอเนื้อหาเพียงผิวเผินเกี่ยวกับปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในการบริหารจัดการโครงการในยุคปัจจุบัน ยังมีแนวทางอื่นอีกมากมายที่องค์กรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาสมดุลของหลักการตั้งต้นและทฤษฎีใหม่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม
Berggren, C. and Soderlund, J. (2008) “Rethinking project management education: Social twists and knowledge co-production.” International Journal of Project Management 26 (1) : 286-296.