ความท้าทายในการบริหารงานโครงการสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทย

เนื่องด้วยเเผนการพัฒนาพลังงานของประเทศไทยสำหรับปี 2012-2030 คือจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตกระเเสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 55 Giga watts ซึ่ง 1 Gigawatt เท่ากับ 1000 Megawatts และกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าหนึ่งโรงจะอยู่ที่ 800 Megawatts นั่นหมายความว่า จะต้องเพิ่มโรงไฟฟาอีก 70 โรงไฟฟ้า เพื่อรองรับเเผนพลังงานดังกล่าว และนี่คือแผนครั้งใหญ่ในการเพิ่มพลังงานไฟฟ้าซึ่งรัฐบาลได้ประกาศออกมาแล้ว

เพื่อบรรลุงานโครงการดังกล่าวนี้จะต้องประกอบไปด้วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย อาทิเช่น งานคอนกรีต งาน super-structure installation ทั้งนี้ยังต้องมีส่วนจัดหาอุปกรณ์ก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้ต้องทำภายใต้เงื่อนไขของกรอบเวลา เเละงบประมาณที่กำหนด

ความท้าทายของการบริหารงานโครงการใหญ่อย่างโครงการนี้คือ การจัดหาคนเเละการที่จะรักษาคนให้อยู่ทำงานตลอดจนจบโครงการ การวางเเผนบุคคากรเป็นสิ่งที่ต้องทำในหลายๆช่วงของการดำเนินงานโครงการ โดยเฉพาะโครงการระยะยาว 3 ปีเช่นนี้ เป็นเรื่องยากที่จะมั่นใจได้ว่ามีบุคคลากรพอเพียงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันนี้บุคคลากรที่มีทักษะนั้นยังคงขาดอยู่มาก ถึงเเม้ว่าจะมีการใช้เเรงงานที่มาจากประเทศพม่าก็ตาม เเต่ก็มีปัญหาอีื่นๆตามมาเช่นเเรงงานเหล่านั้นยังขาดทักษะ ซึ่งเเน่นอนว่าต้องนำมาอบรมเพิ่มเติม นอกจากนี้ก็จะมีปัญหาเรื่องความปลอดภับ อัตราค่าจ้าง และอื่นๆอีกมากมาย อีกหนึ่งความท้าทายของการบริหารงานโครงการนี้คือความเพียงพอของอุปกรณ์ก่อสร้าง ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของราคาเเละเวลาที่บีบรัดมากนั่นเอง

โครงการใหญ่ๆมักจะตามมาด้วยความท้าทายในเรื่องการขนส่ง หรือ logistics ซึ่งประกอบไปด้วยการขนส่งอุปกรณ์ขนาดใหญ่และหนักจะต้องขอความช่วยเหลือจากตำรวจนำขบวนและการวางเเผนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ อุปกรณ์เหล่านี้มักจะต้องขนส่งไปให้ถึงหน้างานตรงตามเวลาเพื่อที่จะได้ปฏิบัติงานได้ตามกำหนด นอกจากนี้การขนส่งก็ยังต้องมีเรื่องของการประกันภัยเเละการรักษาความปลอดภัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ความท้าทายในเรื่องของการขนส่งยังไม่หมดเพียงเเค่นี้ เรื่องของอากาศเเปรปรวนสามารถทำให้การขนส่งช้าไปได้เช่นกัน การขนส่งจากท่าไปที่หน้างานนั้นต้องการการวางเเผนที่ดีซึ่งประกอบไปด้วย การสำรวจเส้นทาง การประเมินสภาพถนน การขออนุญาติการขนส่ง การขอตำรวจนำขบวน และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทขนส่ง

ความท้าทายอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญคือการไม่ใส่ใจในตารางการส่งของของ contractor ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้ contractor ทุกๆเจ้ารักษาเวลาและส่งอุปกรณ์ได้ตรงตามเวลา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระดับการศึกษาของคนงานของ contractor เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าโดยไม่จำเป็นและเป็นไปได้ว่าความล่าช้าที่ไม่ควรจะเกิดนี้ อาจจะทำให้เกิดผลกระทบกับการโครงการโดยรวมได้

คุณภาพคืออีกความท้าทาย ซึ่ง contractor หลายๆเจ้ายังขาดทักษะในการควบคุมและดูเเลงานก่อสร้างที่รับผิดชอบอยู่ ซึ่งทั้งนี้อาจจะเกิดจากการที่ไม่ได้มีการกำหนดงานที่จะต้องส่งหรือ ITP ซึ่งย่อมาจาก Inspection and Test Plan ปกติเเล้วควรจะทำ ITP ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้าง และ ITP ควรเกิดจากหลายๆ stakeholder ลงความเห็นร่วมกันว่าอะไรคือข้อกำหนดของการตรวจสอบ จุดที่ยอมรับได้เเละเงื่อนไข เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงาน rework

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

X