Agile Project Management – นำธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศรวมเป็นหนึ่งเพื่อผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพ

บทความโดย ไจเวียร์ ซิงส์

หลายสิบปีที่ผ่านมาธุรกิจได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมากเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการและการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ ด้วยราคาที่เหมาะสม

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีส่วนช่วยให้การปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นจริงได้ และในขณะที่มีการเริ่มนำอะไรก็ตามที่เป็นมาตรฐานของแต่ละธุรกิจเข้ามาใช้งาน มักจะพบว่าในไม่ช้าก็เร็วว่าตัวมาตรฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการ และจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจใหม่อยู่เสมอ อาทิเช่น ธุรกิจอีคอมเมอร์ซ แอพพลิเคชั่นบนมือถือ ธนาคารออนไลน์ ตั๋วออนไลน์ เหล่านี้เกิดมาจากการปรับปรุงสิ่งที่เคยถูกเรียกว่ามาตรฐานเพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจและแอพพลิเคชั่นที่ถูกใช้งานโดยลูกค้า ปัจจุบันนี้ธุรกิจถูกคาดหวังให้มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ในทุกๆขั้นของการพัฒนาและแน่นอนว่าต้องผสมผสานกับต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำ

หลายๆองกรค์มีการพัฒนาตนเองโดยการริเริ่มโครงการและโปรแกรมหลายๆโครงการ เพื่อให้องค์กรมีความสามารถในด้านต่างๆมากขึ้น แต่ทว่าโครงการและโปรแกรมเหล่านั้นมักจะใช้เวลาดำเนินการนาน และบางโครงการอาจใช้เวลาเป็นปีๆ เหตุนี้มักจะพบว่าการส่งมอบมูลค่าที่ธุรกิจควรจะได้รับ มักจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง และมักจะช้ากว่าที่วางแผนไว้ นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดกับธุรกิจ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของโครงการเมื่อเริ่มต้นนั้นแน่นอนว่ามีผลกระทบต่อแผนงานรวมทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แผนกพัฒนาซอฟท์แวร์หลายๆที่ ใช้วิธีการบริหารโครงการแบบเก่าซึ่งยึดติดกับสเปกของแอพพลิเคชั่นที่ได้ตกลงกันไว้แต่ต้น ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากมีการปรับเปลี่ยนและความล่าช้าต่างๆ อย่างไรก็ดี การดำเนินงานโครงการแบบนี้ ไม่สามารถที่จะส่งมอบได้ในกรณีที่กลยุทธของธุรกิจมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอๆ เช่น เปลี่ยนกลยุทธ์ทุกๆไตรมาส ถึงกระนั้น IT solution ก็ยังคงถูกคาดหวังให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

เราทราบกันดีว่าสิ่งที่มั่นคงที่สุดในชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ ในทางกลับกันสิ่งนี้ต้องถูกบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ การที่จะไปคอยคาดหวังว่าจะได้รับความอดทนในการรอคอยเป็นเดือนๆ จากลูกค้า เพื่อที่จะได้รับการบริการใหม่ๆ หรือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือการส่งมอบ นั้นแทบที่จะเป็นไปไม่ได้ในโลกยุคดิจิตอล และในโลกที่หมุนเร็วนี้การใช้วิธีการบริหารโครงการแบบเก่านั้นมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของแผนหรือความคาดหวังของลูกค้า

การพัฒนาซอฟท์แวร์และแอพพลิเคชั่นต้องทำแบบวนรอบ (iterative way) กล่าวคือทำแบบแบ่งเป็นขั้นๆ ทีละเรื่องต่อๆกันไป หลัก PDCA (วางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ ปรับปรุง) ของ Edward Deming คือวิธีการบริหารแบบทำซ้ำสี่ขั้นตอนที่ถูกใช้ในธุรกิจเพื่อบริหารจัดการ ควบคุม และปรับปรุงกระบวนการและสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และเป็นหลักพื้นฐานของการคิดแบบ ลีน (lean thinking) ซึ่งเป็นหลักเหมาะสมหากว่าเรากำลังอยู่ในตลาดที่กำลังเริ่มต้นใหม่ (established market) นอกจากนี้ Colonel John Boyd เป็นนักการทหารและนักบินรบ ได้พัฒนาแนวความคิดที่เรียกว่า OODA (สังเกตุ เข้าถึง ตัดสินใจ และ ปฏิบัติ) ซึ่งหลักนี้จะใช้ได้ดีหากเราอยู่ในตลาดที่มีความผันผวนมากๆ (volatile market) มาถึงจุดนี้ คุณคิดว่าเพราะอะไร?

ในสมัยก่อนนั้นมีหลายๆองค์กรใช้การบริหารแบบ Waterfall SDLC (Software Development Life Cycle) ในลักษณะทำเป็นรอบๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ และเพิ่มความเร็วในการส่งมอบงาน ปัจจุบันองค์กรเหล่านี้กำลังหันมาเริ่มใช้ Agile SDLC เพื่อการตอบสนองทางธุรกิจให้กับทั้งผู้สนับสนุนโครงการและลูกค้า

ในปี 2010 Thomas Murphy และ David Norton ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ของบริษัท Gartner คาดไว้ว่าภายในปี 2012 จะมีการนำ Agile มาใช้ในโครงการพัฒนาซอฟท์แวร์มากถึง 80 เปอร์เซนต์ และยังกล่าวต่อถึง Scrum ซึ่งเป็นวิธีการแบบ Agile แบบหนึ่งว่าจะยังคงได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าองค์กรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยมุ่งเน้นในเรื่องของการทำงานเป็นทีม

อ้างอิงถึง CHAOS Manifesto ปี 2011 จาก Standish Group ได้กล่าวไว้ว่า โครงการที่ดำเนินการด้วย Agile จะสำเร็จเป็นสามเท่าเมื่อเทียบกับโครงการที่ไม่ได้ดำเนินการแบบ Agile และ ยังเน้นย้ำถึง 4 ส่วนที่สำคัญคือ

  • เน้นความถนัดของบุคคลและการพูดคุยกัน มากกว่ากระบวนการและเครื่องมือ
  • เน้นที่ผล เช่นของที่ส่งให้ลูกค้าได้ตรงตามความต้องการ มากกว่าเอกสาร
  • ให้ความสำคัญที่การติดต่อสื่อสารมากกว่า เรื่องการทำสัญญา และให้มองความสัมพันธ์ระหว่างผู้พัฒนาและลูกค้าเป็นหลัก
  •  เน้นที่การตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี

เมื่อมีหลัก Agile แล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือควรจะมีการประเมินความพร้อมก่อนที่จะเริ่มนำหลักดังกล่าวมาใช้ ซึ่งการประเมินจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ คน กระบวนการ (รวมถึงโครงสร้างองค์กร) และเทคโนโลยี

–  คน

ให้ทำการประเมินเรื่องความสามารถของแต่ละบุคคลทั้งในเชิงความสามารถในการยอมรับความเปลี่ยนแปลง บทบาทหน้าที่ของบุคคากร และแผนการเพิ่มกำลังคนขององค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นและเป็นตัวที่จะช่วยทำแผนเพื่อพัฒนาทักษะและปรับสัดส่วนบทบาทบุคคลากรต่างๆ ได้แต่เนิ่นๆ

–  กระบวนการ

ให้ทำการประเมินกระบวนการที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อนที่จะมีการปรับใดๆ ซึ่งอาจใช้เทคนิค Value Stream Mapping เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจกระบวนการปัจจุบัน และช่วยให้หาจุดเริ่มต้นในกรับปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงผลงาน ความเข้ากันได้ของโครงการ ขนาด ต้นทุน และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการประเมินนี้จะช่วยคัดสรรโครงการที่จะเป็นโครงการเริ่มต้น รวมไปถึงการค้นพบความท้าทายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มการใช้กระบวนการใหม่

การทำงานแบบ Agile นั้นมุ่งเน้นไปที่ความรวดเร็วในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากวิธีการ adaptive software development  ในขณะที่วิธีการทำงานแบบ Waterfall  มีรากฐานมาจาก predictive approach และ Agile นั้นจะเป็นการแตกงานใหญ่ออกเป็นงานย่อยๆที่สามารถเพิ่มขนาดของงานย่อยๆนั้นได้

–  เทคโนโลยี

การประเมินในส่วนนี้เน้นไปที่การรีวิวกลยุทธ์ของโครงสร้างข้อมูลและมาตรฐานเพื่อค้นหาจุดที่เป็นจุดบกพร่อง

ท้ายสุดนี้การบริหารแบบลีนเป็นการพลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมการผลิต และ การบริหารงานโคงการแบบ Agile ก็ให้ผลลัพท์ในแบบเดียวกันแต่เป็นในมุมของการพลิกโฉมในวงการอุตสหกรรมการพัฒนาซอฟท์แวร์ ทุกๆองค์กรในวงการพัฒนาซอฟท์แวร์ควรจะนำเอาการประเมินทั้งสามข้อเข้ามาใช้เพื่อทราบสถานะปัจจุบันและหาว่าอะไรควรจะปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และนำความสัมฤทธิ์ผลสู่องค์กรและผู้สนับสนุน

คุณ Jaiveer ได้รับปริญญาโทด้านธุรกิจระหว่างประเทศ MBA และยังได้ศึกษาโครงการการเป็นผู้นำจาก Harvard Business School และ โครงการการตรวจสอบคุณภาพ จาก Carnegie Mellon University นอกจากนี้เขายังได้รับการรับรอง Certified Project Management Professional (PMP) และ Agile Certified Professionalจาก สถาบัน PMI สหรัฐอเมริกา .

คุณ Jaiveer มีประสบการณ์การทำงานในด้าน Program, Portfolio , ส่งมอบงานและการจัดการการปฏิบัติไอที , การจัดการธุรกิจและการพัฒนากลยุทธ์ เขามีความสามารถครอบคลุมทั้งในทางธุรกิจและทักษะทางเทคนิคในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ในแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่แตกต่างกันรวมถึงการพัฒนา, การบำรุงรักษาและการใช้งานสำหรับลูกค้าทั่วโลกโดยส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินแบบ onsite, offshore, near shore และ Managed  IT Services delivery models. การบำรุงรักษาและการสนับสนุนของโปรแกรมประยุกต์สำหรับลูกค้าทั่วโลกส่วนใหญ่สำหรับสถาบันการเงินโดยใช้ในสถานที่นอกชายฝั่งใกล้กับชายฝั่งและ Managed Services รุ่นไอทีจัดส่ง

เขามีประสบการณ์มาเกือบ 20 ในการร่วมงานกับลูกค้าหลากหลายทั้งใน อินเดีย, อังกฤษ, อเมริกา, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, ญี่ปุ่น, มาเลเซียและสิงคโปร์ เขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการฝึกอบรมสำหรับ ACP, PMP, SEI-CMMI, Six Sigma, การบริหารจัดการโดย Agile (SCRUM,XP,KANBAN), ระบบ PPM และ EPM ฯลฯ เขาเป็นได้นำ PMO, SEI-Metrics Council และ PM Forums เข้ามาใช้กับบริษัทหลายสัญชาติ เขาได้การดำเนินการฝึกอบรมในหลายหัวข้อ ดังนี้ การบริหารจัดการโครงการ,โครงการพัฒนาตารางเวลา, การจัดการความเสี่ยง, วางแผนกำลังการผลิต,โครงการการพยากรณ์งบประมาณ / การเงิน และการบริหารจัดการโครงการแบบAgile ในประเทศ สิงคโปร์, อินเดียและทั่วโลกโดยใช้ Webinar

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

X