เช้าวันทำงานปกติของผม วันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นวันอังคารที่สดใสในมหานครนิวยอร์ก ซึงตอนนั้นผมทำงานเป็น IT Specialist ในบริษัทแห่งหนึ่งในแมนฮัตตัน มีพนักงานคนหนึ่งของบริษัทที่ผมทำงานอยู่โทรเข้ามาที่บริษัทและแจ้งว่ามีเหตุไฟไหม้ตึกทวินทาวเวอร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา 9 โมงเช้า
หลังจากที่ได้รับแจ้งข่าวดังกล่าว ผมและเพื่อนๆซึ่งอยู่ชั้น 44 ของตึกออฟฟิตในย่านเดียวกันพยายามมองไปทางตึกทวินทาวเวอร์ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ และเป็นตึกที่สูงที่สุด
ในมหานครนิวยอร์ก และยังเคยได้รับการบันทึกเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกอีกด้วย จากจุดที่ผมอยู่นั้น สามารถมองเห็นกลุ่มควันไฟขนาดมหึมาพวยพุ่งออกมาจากอาคาร 1 ของทวินทาวเวอร์ (ตั้งอยู่ทางเหนือของตึกที่ 2) ขณะเดียวกันเราได้ยินข่าวจากโทรทัศน์ว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากเครื่องบินพุ่งชนเข้าไปที่ตึกนั้น
พวกเรามองไปที่กลุ่มควันไฟนั้นอย่างคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ คล้ายกับคนที่มองอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยที่ทุกคนคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่อุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น ทันใดนั้นเองผมเห็นเครื่องบินอีกลำหนึ่งพุ่งเข้าชนไปที่ตึกทวินเทาเวอร์อาคารที่ 2 อย่างจัง ทำให้เกิดลูกไฟขนาดยักษ์ลุกท่วมอาคารดังกล่าวเหมือนกับที่เคยเห็นในหนังฮอลิวูดเลยทีเดียว ขณะนั้นผมทำอะไรไม่ถูก แต่ได้ยินเสียงไซเรนให้ทุกคนในตึกที่ผมอยู่นั้นอพยบโดยด่วน ซึ่งแน่นอนว่าลิฟท์ของอาคารที่ผมอยู่นั้นถูกปิดลง เป็นผลให้ทุกคนต้องใช้บันไดหนีไฟเดินลงไปจากชั้นที่ 44
ระหว่างนั้นผมได้ยินข่าวว่าตึกทวินเทาเวอร์ทั้งสองนั้นได้ถล่มลงมาแล้ว และพื้นที่บริเวณนั้นเต็มไปด้วยความโกลาหล การคมนาคมได้หยุดให้บริการโดยสิ้นเชิง รวมถึงสัญญาณโทรศัพท์ที่ขาดๆหายๆ เสียงของไซเรนดังไปทั่วบริเวณ ผู้คนสับสนและร้องไห้ ทุกคนพยายามกระเสือกกระสนหนีออกจากเกาะแมนฮัตตันเพื่อเอาชีวิตรอด รวมถึงผมซึ่งมุ่งหน้ากลับไปที่บ้านในเขตแอสโตเรีย ผมใช้เวลาทั้งสิ้นสามชั่วโมงครื่งเพื่อเดินเท้ากลับบ้านซึ่งอยู่ไปไกลอีก 5 ไมล์
สองสามวันต่อมา ผมพบว่าออฟฟิตของผมที่มีสาขาอยู่ในตึก World Trade นั้นพังราบคาบ และที่ร้ายที่สุดคือมีรายงานว่าพนักงานของบริษัทที่อยู่ในออฟฟิตดังกล่าวเสียชีวิต ซึ่งผมถือเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่รอดมาได้ เนื่องจากผมถูกส่งไปเข้าคอร์สอบรมที่ออฟฟิตดังกล่าวในวันนั้นพอดี ทว่าผมโชคดีที่คอร์สที่ผมต้องเข้าถูกยกเลิกไปก่อนหน้าเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
ท่ามกลางความเศร้าโศกนี้ คณะผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศได้เริ่มทำการประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาแนวทางในการกู้คืนสิ่งที่เสียหาย หลังจากนั้นไม่นานกระบวนการกู้คืนสถานการณ์ (Recovery Process) ก็ได้เริ่มขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายขณะนั้นคือย้ายสถานที่ทำงานจากออฟฟิต World Trade Center ที่โดนทำลาย ไปอยู่ที่มิดทาวน์ที่ผมทำงานอยู่ และผมก็เป็นหนึ่งในผู้นำในกระบวนการนั้นด้วย ผมกลับเข้าทำงานในวันที่ 14 กันยายน และเริ่มประสานงานกับทีมต่างๆ อาทิ ทีมวิศวกร ทีมเนตเวิรค์ ทีมรักษาความปลอดภัย และ อื่นๆ หลังจากนั้นสองสัปดาห์เราสามารถรองรับการย้ายพนักงานจำนวน 2,500 คนมาสู่ออฟฟิตที่มิดทาวน์ได้สำเร็จ
ซึ่งงานนี้เป็นงานที่ยากและต้องใช้พลังอย่างมากเนื่องจากเรามีเวลาที่จำกัด อย่างไรก็ดีด้วยแผนการกอบกู้สถานการณ์ (disaster recovery and business continuity plan) ที่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่าธุรกิจจะยังสามารถดำเนินต่อไปแม้ในภาวะคับขัน และแผนดังกล่าวยังรวมถึงการให้ความมั่นใจในความปลอดภัยของพนักงงาน ปกป้องและป้องกันอุปกรณ์ที่สำคัญต่างๆ ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงาน ลดความสูญเสียและเสียหาย นอกจากการวางแผนที่ดีแล้ว ยังต้องมีการฝึกหัดและผึกฝนในการดำเนินการตามแผนด้วย นอกจากนี้ยังต้องมีการทำการประเมินความเสื่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น พร้อมทั้งควรมีการอบรมพนักงานที่จะสามารถเป็นกำลังสำรองได้เมื่อมีสถานการณ์เกิดขึ้น และการทำการฝึกฝนนั้นต้องทำให้สมจริงและสม่ำเสมอ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะวางแผนการสื่อสารเพื่อรองรับการเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินด้วย
หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ผมได้ร่วมเป็นคณะทำงานในการวางแผนกูสถานการณ์ (BCP committee) และช่วยจัดทำแผนสำหรับออฟฟิตต่างๆ ทั่วมหานครนิวยอร์ก ทั้งนี้เรามีการจัดการฝึกฝนดำเนินการตามแผนกู้สถานการณ์ทุกเดือน ในปี 2003 นั้นแผนที่เราทำขึ้นได้ถูกนำมาใช้จริงอีกครั้งในเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในมหานครนิวยอร์กและฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา
เวลาผ่านไป 12 ปีแล้วหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ปัจจุบันนี้ผมไม่ได้ทำงานอยู่กับบริษัทเดิมอีกต่อไป แต่ทว่าผมภูมิใจที่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการกู้สถานการณ์ประสบความสำเร็จ และบริษัทเก่าของผมรอดมาได้และยังคงอยู่หลังจากนั้นด้วยแผน BCP และกระบวนการต่างๆ ที่สร้างขึ้นเป็นอย่างดี
ผมก็มีชีวิตรอดจาก 9/11 ซึ่งเป็นความโชคดีของผมและขอขอบคุณด้วยใจจริง