ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “การแบ่งปันคือการเรียนรู้”, คณะกรรมการวิชาการ PMI ประเทศไทยได้ทำการสัมภาษณ์สมาชิกของ PMI ประเทศไทยอยู่เสมอๆ เพื่อแบ่งปันมุมมองของพวกเขาในด้านการจัดการโครงการของ PMI ประเทศไทย โดยท่านแรกที่เราจะทำการสัมภาษณ์คือ คุณยอดชาย อภิสิทธิ์ไพศาล อดีตประธาน PMI ประเทศไทย ซึ่งทำการสัมภาษณ์โดยคุณโรเบิร์ต แวน เกไอจน์, สมาชิกของคณะกรรมการวิชาการ
หลายท่านคงรู้จักคุณยอดชายในฐานะอดีตประธานของ PMI ประเทศไทย แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบขอให้คุณยอดชายแนะนำตัวเองสักเล็กน้อย
ผมชื่อ ยอดชาย อภิสิทธิ์ไพศาล เป็นลูกคนเล็กจากพี่น้องทั้ง 5 คน ผมเติบโตมาในครอบครัวที่เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร ผมมีครอบครัวที่อบอุ่นที่ทำให้ผมมีชีวิตวัยเด็กที่มีความสุขและมีรากฐานที่ดีกับอนาคต สำหรับทางด้านการศึกษานั้น ผมสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในประเทศไทย และเริ่มทำงานกับโรงงานในประเทศของ บริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศที่ผมได้มีส่วนร่วมในการผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอเตอร์ไฟฟ้า, เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า, ปั๊มและไดรฟ์ความถี่ตัวแปร ส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผม ผมต้องออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทดสอบผลิตภัณฑ์หลายหลาก โดยได้ดำเนินกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ต่อจากนั้นก็จะผลิตสินค้าใหม่ในจำนวนมาก กระบวนการทั้งหมดมาพร้อมกับความเสี่ยงด้านต่างๆที่จำเป็นในการได้รับการจัดการดูแลที่ดี ดังนั้นการจัดการโครงการจึงมีความสำคัญมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มต้นมากของอาชีพของผม ผมก็มีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการโครงการ
เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพผมได้เดินทางไปศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และงานชิ้นสุดท้ายที่ได้รับมอบหมายก่อนออกจากรั้วมหาวิทยาลัยของผมคือการพัฒนาระบบการประเมินบ้าน โดยการทำงานระบบจะเป็นการพิจารณามูลค่าของสินทรัพย์และทำการเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ผลการคำนวณจะถูกส่งไปที่ธนาคารโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการกำหนดเงินกู้ เมื่อเวลาคือเงินเราจึงใช้ PDA เพื่อทำการส่งข้อมูล หลังจากสำเร็จการศึกษาผมทำงานที่ บริษัท น้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยผมมีส่วนร่วมในการออกแบบและผลิตของ derricks และสถานีย่อย การเข้ามาในรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งงานที่ได้รับมอบหมายและอาชีพของผมมาพร้อมกับการบริหารจัดการโครงการ
นับตั้งแต่งานแรกของผม ผมได้มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโครงการ ในเวลาต่อมาจากความชื่นชอบการบริหารจัดการโครงการก็กลายเป็นความหลงไหล เมื่อผมกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2005 ผมได้ตัดสินใจที่จะร่วมงานกับบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับโครงการการจัดการให้แก่ลูกค้า ถึงวันที่ผมยังคงอยู่กับ บริษัทนั้นและเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนของบริษัท ชื่อบริษัท PSIโซลูชั่น
นอกเหนือจากการทำงาน ผมมีงานอดิเรกอยู่หลายอย่าง ผมชอบการเดินทาง โดยเฉพาะการไปทะเลกับสุนัขของผม ผมชอบดนตรี ชอบเล่นกีตาร์ และ การเต้นรำสไตล์ลาติน อย่าง ซัลซ่า ซึ่งมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ผมยังชื่นชอบกีฬาหลายอย่าง ดังเช่น แบดมินตันและฟุตบอล
คุณมีความสัมพันธ์กับ PMI อย่างไร
ด้วยความหลงใหลในการบริหารโครงการจึงไม่น่าแปลกใจที่ท้ายที่สุดผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน PMI นับตั้งแต่ผมกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ที่จริงแล้วผมได้รู้จักกับ PMI ในช่วงเวลาหลายปีของผมในสหรัฐอเมริกา และเมื่อกลับมายังประเทศไทย ผมพยายามติดตามว่ามี PMI ในกรุงเทพฯหรือไม่ และโชคดีที่มี และผมก็ได้เข้าร่วมสมาชิก PMI ในทันทีและเป็นยังสมาชิกของ Bangkok Chapter นอกจากนี้ผมยังได้ร่วมเป็นอาสาสมัคร และขึ้นเป็นรองประธานฝ่ายโปรแกรม, กรรมการและประธานในที่สุด ในปี 2012 ผมส่งต่อตำแหน่งไปยัง คุณ เพโทรส หลังจากที่เขาได้รับเลือกเป็นประธานคนใหม่ของเรา
ตั้งแต่วันที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกผมมีความสุขอย่างจริงใจกับความสัมพันธ์ของผมต่อ PMI ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของความรู้สำหรับคนที่หลงใหลเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ เป็นชุมชนที่เราสามารถเรียนรู้และแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ PMBOK เป็นเครือข่ายที่รวมเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในอาชีพของการบริหารโครงการ และยังเป็นให้ประโยชน์แก่ทุกคน
PMBOK’s 10 knowledge areas
อะไรคือสิ่งที่คุณให้ความสำคัญในการบริหารโครงการ?
สิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากๆคือการสร้างความสามารถของบุคคลากร เป็นเพราะว่าผมเห็นถึงคุณค่าของมัน ผมเชื่อว่าสิ่งนี้เติมเต็มทิศทางต่างๆในการบริหารโครงการ รวมถึง ความพึงพอใจของลูกค้า สร้างประสิทธิภาพประสิทธิผล ลดต้นทุนและอื่นๆ และผมเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าบุคคลากรเป็นผู้ที่จะตัดสินว่าสุดท้ายแล้วโครงการจะสำเร็จหรือล้มเหลว ดังนั้นบุคคลากรจำเป็นต้องถูกพัฒนาความรู้ ทักษะในด้านการบริหารโครงการเป็นอย่างยิ่งเพื่อมุ่งไปสู่จุดสูงสุดของกระบวนการต่างๆ ของการบริหารโครงการ
ในมุมมองของผม ผู้จัดการโครงการต้องพัฒนาความสามารถของตนเองเสมอๆ ซึ่งต้องพัฒนาไปได้ไกลกว่าเรื่องของการบริหารโครงการ การมีทักษะในการบริหารโครงการไม่ได้ยืนยันความสำเร็จของโครงการ เพราะนอกเหนือจากทักษะดังกล่าว ผู้จัดการโครงการจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ เช่น ความเป็นผู้นำ การเจรจาต่อรอง เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้จัดการโครงการจำเป็นต้องมีความเข้าในใจอุตสาหกรรมหรืองานที่ทำอยู่ ซึ่งผู้จัดการโครงการที่เก่งจะสามารถใช้ทักษะต่างๆได้อย่างสอดประสานกันกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมขององค์กรเพื่อนำพาโครงการไปสู่ความสำเร็จ
ในการก้าวสู่ความเป็นเลิศในอาชีพผู้จัดการโครงการ เราต้องเข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของตนเองและค้นหาสิ่งที่จะต้องปรับปรุง หากเราพบสิ่งดังกล่าวแล้ว เราก็สามารถพัฒนาตนเองได้โดยการเข้ารับการฝึกฝน อบรมซึ่งจะช่วยพัฒนาสิ่งที่ยังขาดอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนที่สุดว่าความไม่สมบูรณ์แบบเป็นพื้นฐานการนำไปสู่การพัฒนาเพื่อการเป็นผู้จัดการโครงการที่ดียิ่งขึ้นในองค์กรต่างๆ และเพื่อให้เหตุผลกับองค์กรไปสู่การสนับสนุนการตัดสินใจที่จะพัฒนาทักษะของผู้จัดการโครงการขององค์กรนั้นๆ
คุณคิดว่า PMI อยู่ที่จุดไหนในสังคมไทย ?
หากคุณมองไปที่ PMI ประเทศไทยวันนี้จะพบว่ายังเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ถึงแม้ว่าจะได้รับการยอมรับจากบริษัทนานาชาติ แต่ยังคงไม่ได้รับการยอมรับจากบริษัทในเมืองไทยมากนัก เนื่องจากเป้าหมายของ PMI ประเทศไทยคือการโปรโมทการบริหารโครงการในประเทศไทย นั่นหมายถึงเรายังคงมีงานที่ต้องทำอีกมาก เราต้องการเป็นที่รู้จักและมีสมาชิกที่เป็นคนไทยเพิ่มขึ้น ปัจจุบันนี้บริษัทในเมืองไทยไม่ค่อยรวมการบริหารโครงการเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนความสำเร็จของโครงการ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเขาไม่เห็นคุณค่า
ซึ่งตรงนี้เป็นความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับบริษัทต่างชาติที่เพิ่มการบริหารโครงการเข้าไปเป็นกลยุทธ์มากขึ้น โดยการนำการจัดการโครงการที่เป็นที่ยอมรับมาใช้เพิ่มขึ้น นำกระบวนการบริหารโครงการที่เป็นมาตรฐานมาใช้พร้อมกับการปลูกฝังให้พื้นฐานให้กับพนักงาน ด้วยวิธีการนี้พบว่ามีหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จและได้ประโยชน์จากการบริหาร เวลา งบประมาณ ประสิทธิภาพ และประเด็นต่างๆ อย่างมืออาชีพ
มุมมองของคุณที่มีต่อ PMI ในอนาคต และเรื่องของการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ?
เวลาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้บริษัทในไทยรู้จัก PMI ประเทศไทย ประชาคมอาเซียนจะมากับการแลกเปลี่ยนแรงงานที่มีทักษะอย่างเสรี บุคคลากรสามารถทำงานในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้อย่างมีอิสระ ซึ่งประเทศของเราจะประสบปัญหาที่เรียกกันว่าสมองไหล ในขณะที่เราพบปัญหาสมองไหลนั้นประเทศเพื่อนบ้านก็จะได้ประโยชน์จากการนี้
ผู้จัดการโครงการที่ได้ประกาศนียบัตร PMP สามารถหางานได้ง่ายในต่างแดนอาทิ ที่สิงค์โปร ไม่แต่เฉพาะเรื่องของผลตอบแทนเท่านั้นแต่ยังมีเรื่องของผู้จัดการโครงการที่ได้รับประกาศนียบัตรจะเป็นที่ยอมรับอย่างมากอีกด้วย ประเทศที่สามารถรักษาบุคลากรที่มีทักษะได้จะได้เปรียบมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือประเทศไทยต้องพัฒนาบุคคลากรที่มีทักษะ พัฒนาบุคคลากรที่ได้รับการยอมรับและรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ได้ หัวใจหลักในการพัฒนาดังกล่าวประกอบด้วยเรื่องของการสื่อสาร ความฉลาดทางวัฒนธรรม จริยธรรมและความเป็นมืออาชีพ ส่ิงเหล่านี้จะทำให้คนไทยสามารถทำงานที่ใดก็ได้ในประชาคมอาเซียน และ PMI ประเทศไทยสามารถเป็นส่วนหนึ่งและมีส่วนร่วมในการพัฒนานี้ได้
นั่นหมายถึงว่า PMI ประเทศไทยต้องหาแนวทางที่จะเข้าถึงบุคลากรมากขึ้นและดึงบุคลากรเข้าร่วมเป็นสมาชิกให้มากขึ้น ดังนั้น PMI ประเทศไทย จึงต้องเพิ่มประโยชน์ในด้านต่างๆให้กับสมาชิก เช่น องค์ความรู้ ผลการวิจัยด้านต่างๆ ซึ่งเรามีบทความ เอกสารต่างๆ มากมายจาก PMI นานาชาติซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการในประเทศมากนัก
เราควรจะสร้างเอกสาร บทความที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมากขึ้น และสร้างกลุ่มเฉพาะของบุคคลากรมืออาชีพเพื่อแชร์ประสบการณ์การบริหารโครงการข้ามสายงาน อาทิเช่น งานก่อสร้าง ไอที และ สุขภาพ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรที่อยู่ต่างสายงานสามารถเรียนรู้จากผู้อื่นและมีประโยชน์อย่างมาก
ในภาพรวมนั้นยังต้องมีสิ่งที่มากระตุ้นความสนใจในเรื่องการบริหารโครงการมากกว่านี้ เช่น การให้การศึกษากับเยาวชนหรือองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่เราสามารถทำได้เพื่อสนับสนุนการบริหารโครงการและประโยชน์ของการบริหารโครงการในประเทศไทย
คุณเห็นด้วยกับทิศทางของ PMI ?
เร็วๆนี้ผมพบว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้นมากมายใน PMI ประเทศไทย และมีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้นเช่น งานอบรมสัมมนา และออกไปดูงานนอกสถานที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิกของเรา และผมมั่นใจว่าด้วยพลังที่เรามีอยู่สามารถสร้างอนาคตของเราให้ดีได้
เราต้องเดินหน้าต่อไปและรับอาสาสมัครเพิ่มเพื่อช่วยให้สิ่งต่างๆประสบความสำเร็จ ดังนั้นคำตอบของผมคือผมมั่นใจในทิศทางดังกล่าว และขอขอบคุณเหล่าอาสาสมัครที่ทำงานกันอย่างหนักด้วยการเสียสละเวลาส่วนตัว
คุณมีอะไรที่จะฝากถึงสมาชิก PMI ประเทศไทย?
กระตือรือร้น และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ PMI ประเทศไทย เพื่อ แบ่งปัน เรียนรู้