ผู้เขียน Athrym Ong
ในช่วงเศรษฐกิจขาลงมักเป็นผลให้บริษัทต่างๆลดปริมาณงานบริหารโครงการ บริษัทต่างๆมักจะประหยัดงบประมาณและลดจำนวนโครงการที่มีอยู่ สำหรับองค์กรที่มีโครงการที่เกี่ยวกับงานบริการต่างๆ อาทิ บริษัทก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น บริษัทเหล่านี้อาจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ทำงานสอดประสานกันและคุ้มค่ามากที่สุดด้วยการทำงานหลายๆโครงการในเวลาเดียวกันเป็นต้น สำหรับองค์กรอื่นๆผู้บริหารอาจจะเลือกที่จะใช้บุคคลากรที่มีอยู่เป็นผู้เริ่มการดำเนินงานโครงการมากกว่าที่จะใช้บริการแบบเต็มรูปแบบจากบริษัทที่ปรึกษาภายนอกทั้งหมด เป็นผลให้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆในภาพรวมได้รับผลกระทบ
สามารถ download เอกสาร “PMI Economic Snapshot of Project Management Institute, Inc” ได้ที่นี่ ซึ่งเอกสารนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการบริหารงานโครงการ
แหล่งที่มา:
- PMI Economic Snapshot
- Project Management Institute, Inc,
- PMI Economic Snapshot [Online]
- Available from:
- http://www.pmi.org/Knowledge-Center/Surveys-PMI-Pulse-Surveys.aspx
- [Accessed 21 August 2013]
หลายๆปัจจัยทางธุรกิจยังคงส่งผลต่อการบริหารงานโครงการ
ผลการศึกษาล่าสุดจาก PMI global economic study (Q2 ของปี 2013) พบว่าหลายปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการบริหารงานโครงการจะกลับสู่ระดับเดียวกับในรอบครึ่งปีหลังของปี 2012 หลังจากได้รับสัญญาณการปรัปตัวที่ดีขึ้นใน Q1 ของปี 2013 หากจะพิจารณาถึงความล่าช้าหรือการยกเลิกโครงการที่มีอัตราการเพิ่มสูงขี้นใน Q2 ของปี 2013 หากเปรียบเทียบกับ Q1 ของปี 2013 และอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2012
สัญญาณของการปรับตัวที่ดีขึ้น
มีสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้นของสองส่วนสำคัญๆ หนึ่งคือ จำนวนของการกลับมาเริ่มโครงการอีกครั้งนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งเท่ากับระดับที่เคยเป็นใน Q3 ของปี 2011 สองคือ การกลับมาพัฒนาความสามารถสู่ความเป็นมืออาชีพมีอัตราการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Q1 ของปี 2013 หลังจากค่อนข้างนิ่งเมื่อปีที่ก่อนหน้า
อัตราการจ้างงานยังคงไม่แน่นอน
ในขณะที่อัตราการว่าจ้างผู้จัดการโครงการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเทียบกับต้นปี 2013 แต่หากเทียบกับปีก่อนหน้าในช่วงเวลาเดียวกันจะพบว่าอัตราการว่าจ้างดังกล่าวสูงขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย (95% ต่อ 93%) และนอกจากนี้ยังพบว่าองค์กรต่างๆ พยายามคงส่วนสำคัญๆไว้ในไตรมาสสุดท้ายหากเทียบกับเมื่อตอนต้นปีที่องค์กรหลายๆองค์กรได้เลิกว่าจ้างผู้จัดการโครงการเป็นจำนวนมากและยังไม่มีการจ้างงานเพิ่มอีกด้วย
สถานการณ์ที่ดีขึ้นใน Q2 ของปี 2013 ของโซนเอเซียแปซิฟิคและ EMEA
องค์การต่างๆ ในเอเซียแปซิฟิก และบางส่วนใน ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา หรือที่เรียกย่อๆว่า EMEA ทำได้ดีขี้นในไตรมาสนี้ในแง่ของการยกเลิกหรือเลื่อนงานโครงการ และทำได้ดีขึ้นเช่นกันในแง่ของจำนวนกิจกรรมการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ลาตินอเมริกาเองก็กำลังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ดีขึ้น อาทิเช่นจำนวนโครงการที่ถูกนำกลับมาเริ่มใหม่อีกครั้งหลังถูกยกเลิกไป นอกจากนี้หลายๆองค์กรในลาตินอเมริกาเริ่มกลับมาจัดกิจกรรมในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพหลังจากถูกยกเลิกไปมากขึ้น เมื่อเทียบกับอเมริกาเหนือ
การสำรวจของ PMI Economic Snapshot นี้ได้ถูกส่งให้กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกของ PMI และผู้ถือประกาศนียบัตรทุกๆไตรมาสเป็นจำนวน 2,000 คน และเมื่อต้น Q1 ของปี 2013 ได้ส่งให้สมาชิก PMI และผู้ถือประกาศนียบัตรเพิ่มอีก 500 คนในลาตินอเมริกาเพื่อเพิ่มกลุ่มตัวอย่างของโซนนี้
[divider]
ข้อคิดจากการอ่าน
สถานภาพของสังคมการบริหารโครงการนั้นขึ้นอยู่กับแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ในไตรมาสที่เหลือของปี 2013 นั้น สังคมการบริหารโครงการอาจพบความท้าทายซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเชื่องช้าอันเกิดจากความต้องการในประเทศที่อ่อนแอในตลาดที่เกิดใหม่ และข้อจำกัดต่างๆทั้งในตลาดที่เกิดใหม่และตลาดที่กำลังพัฒนา
ความเสี่ยงทางการเงินซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้กระทบต่อสังคมการบริหารโครงการเนื่องจากบริษัทต่างๆ อาจเลือกที่จะลดจำนวนทรัพยากรและหยุดการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของสถานะทางการเงินและแก้ปัญหาการชลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ
นั่นก็หมายถึงกว่าเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดสรรโครงการใหม่นั้นจะเป็นไปอย่างเข้มข้น และเหมือนกับว่าโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงหรือโครงการที่ใช้เวลาน้อยดูจะเป็นที่ถูกใจสำหรับผู้ลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่น้อย ทั้งนี้ยังทำให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ ความไม่แน่นอนและความถดถอยของความต้องการในตลาดโลก ส่งผลให้งานบริหารโครงการพบความท้าทายในช่วงไตรมาสที่กำลังจะมาถึง
ส่งความเห็นของคุณมาหาเราเพื่อแลกเปลี่ยนและเสนอแนะได้
Athrym Ong ทำงานในอุตสาหกรรมเกมส์ในประเทศต่างๆทั้ง มาเลเซีย, มาเก๊าและสิงคโปร์มานานกว่า 10 ปี หลายปีที่ผ่านมาเธอมีบทบาทสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานโครงการในการตั้งค่าหน่วยธุรกิจการ, ติดตั้งเครื่องเกมส์, กระบวนการทางธุรกิจ, การตรวจสอบการปฏิบัติตาม, การฝึกอบรมและการพัฒนาในโครงการต่างกับ บริษัท ข้ามชาติ
Athrym สำเร็จการศึกษาด้วยปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ (วิชาเอกในการบริหารจัดการโครงการ) จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ เธอยังเป็นครูผู้สอนและผู้ประเมินที่มีคุณภาพที่มีประสบการณ์การฝึกอบรมต่างๆ ปัจจุบันเธออาศัยและทำงานอยู่ในสิงคโปร์และมีแผนการที่จะหาความก้าวหน้าในประเทศไทย