การรักษาหลักการบริหารจัดการโครงการให้ทันสมัยอยู่เสมอ

โดย Sam Finch

ในช่วงหลายปีหลังที่ผ่านมานี้ ผมพบว่าได้มีการนำหลักการบริหารจัดการโครงการไปใช้อย่างแพร่หลายในหลายส่วนงาน ซึ่งเป็นส่วนงานที่ไม่เคยมีความเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริหารจัดการโครงการมาก่อน ส่งผลให้จำนวนผู้จัดการโครงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการให้คำจำกัดความก็ยากขึ้นเช่นกัน

สำหรับประเทศไทย หลักการบริหารจัดการโครงการได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง องค์กรที่มีการนำหลักการไปใช้งานควรยึดหลักการตั้งต้น และต้องเปิดรับทฤษฎีใหม่ใหม่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม

การเพิ่มขึ้นของทฤษฎีใหม่ ทำให้เกิดการโต้แย้งในเนื้อหาของหลักการบริหารจัดการโครงการ ว่าควรมีการคิดทบทวนใหม่หรือไม่ เพราะบางทฤษฎีที่เหมาะสมอาจถูกมองข้ามไป อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของทฤษฎีใหม่ยังไม่ถูกพัฒนาในหลักการเพื่อให้เกิดความเท่าทันกับการนำไปใช้งาน จึงส่งผลให้ผู้จัดการโครงการในปัจจุบันยังไม่มีความรู้เพียงพอ ไม่ได้รับการฝึกหัด และขาดความสามารถในการเตรียมพร้อมสำหรับการบริหารจัดการโครงการในอนาคต ทั้งนี้ทั้งนั้นองค์กรยังคงมีทางเลือกในการเชื่อมต่อและลดช่องว่างระหว่างหลักการตั้งต้นและทฤษฎีใหม่

Berggren & Soderlund (2008 pp. 291)ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ไว้ในงานเขียนเรื่อง Social Twist ซึ่งเป็นการนำเสนอแนวทางการเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ โดยการนำเอาทฤษฎีตั้งต้นมาคิดทบทวนใหม่ผ่านกระบวนการของการบริหารจัดการโครงการเพื่อเพิ่มศักยะภาพให้กับทฤษฎีนั้น Social Twist แบ่งออกเป็น 6 แนวทางสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ภายในแต่ละองค์กร ได้แก่

แนวทาง เนื้อหาโดยสรุป

 

รายงานสะท้อนผลการทำงานที่ผ่านมา

การสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมา โดยการอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างการบริหารจัดการโครงการ อธิบายต้นเหตุที่ทำให้โครงการไม่เป็นไปตามแผนงาน เพื่อนำไปทำรายงานสะท้อนผลการทำงาน การสรุปบทเรียนควรทำที่ระดับบุคคลและระดับภาพรวมขององค์กร

 

ตั้งเป้าหมายทีได้รับจากการเรียนรู้

การตั้งเป้าหมายเพื่อให้แต่ละบุคคลนำสิ่งที่ได้จากการสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมาไปพัฒนาตามที่ได้ตกลงร่วมกัน

 

ทดสอบความรู้ในกลุ่ม

การทดสอบความรู้ โดยการจัดกลุ่มให้แต่ละบุคคลได้อธิบายสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมา

 

เรียนรู้จากเหตุการณ์ปัจจุบัน

การแบ่งปันเหตุการณ์ในการบริหารจัดการโครงการปัจจุบันที่แต่ละบุคคลให้กับกลุ่มได้รับรู้ โดยให้อธิบายถึงอุปสรรคและความสำเร็จที่เกิดขึ้น แนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาแนวทางการทำงานแบบกลุ่มได้

 

จัดทำวิทยานิพนธ์ของโครงการ

การสร้าที่ปรึกษาภายใน เพื่อการสนับสนุนปัญหาเฉพาะด้าน แนวทางนี้จะทำให้การสรุปบทเรียนที่ได้รับจากโครงการที่ผ่านมาได้รับความใส่ใจ และจะเกิดผลดีกับโครงการที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต

 

แสดงความรู้

การสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฎิบัติงานที่ให้ผลอย่างดี ระหว่างการบริหารจัดการโครงการ และนำเสนอผู้อื่น

นอกจาก 6 แนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ภายในองค์กรแล้ว ยังมีแนวทางจากภายนอกที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสมัยใหม่ ได้แก่ การสนับสนุนให้ผู้จัดการโครงการของท่านได้มีส่วนร่วมกับองค์กรอิสระในสายวิชาชีพ เช่น Project Management Institute Thailand Chapter

บทความนี้ได้นำเสนอเนื้อหาเพียงผิวเผินเกี่ยวกับปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในการบริหารจัดการโครงการในยุคปัจจุบัน ยังมีแนวทางอื่นอีกมากมายที่องค์กรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาสมดุลของหลักการตั้งต้นและทฤษฎีใหม่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสม

Berggren, C. and Soderlund, J. (2008) “Rethinking project management education: Social twists and knowledge co-production.” International Journal of Project Management  26(1) : 286-296.

Sam has an Undergraduate Degree in Applied Science and a Masters in Project Management, both from RMIT University, Melbourne. He is passionate about furthering best practice project management methodologies across Thailand whilst furthering a permanent career.

With an advanced knowledge and practical application of contemporary project and change management methodologies and busineSamss acumen , Sam provides clever solutions to complex problems.

He has successfully delivered projects in defence, land use and development, engineering, organisational change and business transformation.

Sam has worked closely with senior leadership and executives across all tiers of Government in Australasia. He has established a widespread network through strong and effective relationships. Critical to his success in culturally diverse and complex environments is his understanding of the importance that people play in achieving results.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

X