มีอะไรใหม่ใน PMBOK® เวอร์ชัน 5

เขียนโดย Athrym Ong

ในปี 2013 นั้นมีการนำเสนอ PMBOK® เวอร์ชั่นที่ 5 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก หัวใจหลักๆที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงศิลปะในการบริหารโครงการที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ และด้วยเหตุนี้ จึงได้เกิดความต้องการที่จะปรับมาตรฐานต่างๆให้เข้ากับหลักบริหารแบบองค์รวม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการกับมืออาชีพที่มีพื้นฐานและอุตสหกรรมที่แตกต่างกัน

 การปรับมาตรฐานดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  1. การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการได้ถูกแยกออกจากการบริหารจัดการการสื่อสารโครงการ โดยแบ่งให้เป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้
  2. กระบวนการบริหารโครงการต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 42 กระบวนการ เป็น 47 กระบวนการ
  3. หัวใจหลักๆของการบริหารธุรกิจได้ถูกรวมเข้าไปในแต่ละองค์ความรู้และกระบวนการบริหารโครงการอย่างสม่ำเสมอ ส่วนในเรื่องความมีวินัยในการบริหาร – วางแผน, จัดการ, ดำเนินการ, ตรวจสอบและควบคุม ได้ถูกเน้นย้ำตลอดวัฏจักรของการบริหารโครงการ บางกระบวนการได้ถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบริหารมากขึ้น เช่น การวางแผนการบริหารการสื่อสาร

 

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใน PMBOK® เวอร์ชั่น 5

ตารางด้านล่างสรุปสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก PMBOK® เวอร์ชั่น 4 เป็น PMBOK® เวอร์ชั่น 5

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้ถูกไฮไลท์ เป็น ตัวเอียงสีแดง เพื่อใช้ในการอ้างอิง

pmbok-04

 

pmbok-05

 

pmbok-06

 

ข้อคิดจากการอ่าน

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือกลุ่มของบุคคล หรือ องค์กรที่มีความสนใจในโครงการ ไม่ว่าโครงการนั้นจะมีผลในด้านบวกหรือด้านลบต่อคนเหล่านั้นก็ตาม ระดับของความเกี่ยวข้องและแรงโน้มน้าวจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับของความสนใจที่มีต่อโครงการ

การแยกออกมาของการบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการบริหารการสื่อสารนั้น แสดงให้เห็นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของโครงการและนำไปสู่การจัดการความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ยังเกิดความท้าทายแก่ผู้จัดการโครงการต่างๆ ในการสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆและนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ นั่นหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้จัดการโครงการ

 

Athrym Ong ทำงานในอุตสาหกรรมเกมส์ในประเทศต่างๆทั้ง มาเลเซีย, มาเก๊าและสิงคโปร์มานานกว่า 10 ปี หลายปีที่ผ่านมาเธอมีบทบาทสำคัญเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานโครงการในการตั้งค่าหน่วยธุรกิจการ, ติดตั้งเครื่องเกมส์, กระบวนการทางธุรกิจ, การตรวจสอบการปฏิบัติตาม, การฝึกอบรมและการพัฒนาในโครงการต่างกับ บริษัท ข้ามชาติ

Athrym สำเร็จการศึกษาด้วยปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ (วิชาเอกในการบริหารจัดการโครงการ) จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ เธอยังเป็นครูผู้สอนและผู้ประเมินที่มีคุณภาพที่มีประสบการณ์การฝึกอบรมต่างๆ ปัจจุบันเธออาศัยและทำงานอยู่ในสิงคโปร์และมีแผนการที่จะหาความก้าวหน้าในประเทศไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

X