Category: บทความ

อาเซียน 2015 – โอกาสในการบริหารโครงการในประเทศไทย

โดย Kevin Taylor, PMP  มีคำกล่าวว่าประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเดียวในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่มีการวางแผนไว้เป็นอย่างดีสำหรับการเข้าสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนในปี 2015 อย่างไรก็ดี ยังมีข้อกังขาว่าไทยจะบรรลุเป้าหมายต่างๆที่ตั้งไว้ภายในปี 2015 ได้จริงหรือ ทว่าอย่างน้อยมีหนึ่งประเทศที่ยังสงสัยว่าจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของประเทศตนเองภายในปี 2015 ได้หรือไม่

Read More

ประการณ์ของผมกับการจัดการบริหารโครงการแบบ Lean ที่โตโยต้าประเทศไทย

ผู้เขียน Skon Lapamnuaypol, PMP หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความนิยมเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ คือหัวข้อเราจะประยุกต์ใช้แนวคิดแบบ Lean อย่างไรในโครงการต่างๆ หรือเรียกว่า “การบริหารจัดการโครงการแบบ Lean” ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีทฤษฏีที่หลากหลาย เช่น การบริหารจัดการโครงการแบบ Agile และการเขียนโปรแกรมแบบ Extreme ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับการยอมรับในวงการ เมื่อพูดเกี่ยวกับ “Lean” โดยส่วนตัวผมมักจะคิดถึงประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับแนวคิดแบบ Lean และการประยุกต์วัฒนธรรมการทำงานในช่วงที่ผมทำงานบริหารโครงการด้านไอทีในโรงงานโตโยต้าประเทศไทย ระบบการผลิตของโตโยต้า หรือ Toyota Production System (TPS) คือที่มาของไอเดียการผลิตแบบ Lean ซึ่งถูกนำมาใช้ในภายหลังโดยอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิไอทีและบริการทางการเงิน ในบทความนี้ผมต้องการที่จะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้รับในการดำเนินงานโครงการที่โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย หนึ่งในโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ของอุสาหกรรมโตโยต้าในประเทศไทย ก็คือ IMV ซึ่งย่อมาจาก “International Multi Vehicle” IMV มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฐานการผลิตของโตโยต้าในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานประกอบรถยนต์สำหรับภูมิภาคนี้ วันที่ผมได้รับการแนะนำให้รู้จักกับโปรแกรมดังกล่าว ผมอยู่กับทีมงานในห้องเดียวกันกับผู้ให้บริการรายอื่นที่กำลังดำเนินการโครงการอื่น ๆ ภายใต้โครงการ IMV พวกเราคือผู้ให้บริการที่มาจากภายนอกองค์กรที่ได้ทำงานในโครงการต่างๆ ให้ โตโยต้า […]

Read More

ความหลงไหลต่อการบริหารจัดการโครงการ

ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า “การแบ่งปันคือการเรียนรู้”, คณะกรรมการวิชาการ PMI ประเทศไทยได้ทำการสัมภาษณ์สมาชิกของ PMI ประเทศไทยอยู่เสมอๆ เพื่อแบ่งปันมุมมองของพวกเขาในด้านการจัดการโครงการของ PMI ประเทศไทย โดยท่านแรกที่เราจะทำการสัมภาษณ์คือ คุณยอดชาย อภิสิทธิ์ไพศาล อดีตประธาน PMI ประเทศไทย ซึ่งทำการสัมภาษณ์โดยคุณโรเบิร์ต แวน เกไอจน์, สมาชิกของคณะกรรมการวิชาการ หลายท่านคงรู้จักคุณยอดชายในฐานะอดีตประธานของ PMI ประเทศไทย แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบขอให้คุณยอดชายแนะนำตัวเองสักเล็กน้อย ผมชื่อ ยอดชาย อภิสิทธิ์ไพศาล เป็นลูกคนเล็กจากพี่น้องทั้ง 5 คน ผมเติบโตมาในครอบครัวที่เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร ผมมีครอบครัวที่อบอุ่นที่ทำให้ผมมีชีวิตวัยเด็กที่มีความสุขและมีรากฐานที่ดีกับอนาคต สำหรับทางด้านการศึกษานั้น ผมสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในประเทศไทย และเริ่มทำงานกับโรงงานในประเทศของ บริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศที่ผมได้มีส่วนร่วมในการผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอเตอร์ไฟฟ้า, เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า, ปั๊มและไดรฟ์ความถี่ตัวแปร ส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผม ผมต้องออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทดสอบผลิตภัณฑ์หลายหลาก โดยได้ดำเนินกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ต่อจากนั้นก็จะผลิตสินค้าใหม่ในจำนวนมาก กระบวนการทั้งหมดมาพร้อมกับความเสี่ยงด้านต่างๆที่จำเป็นในการได้รับการจัดการดูแลที่ดี ดังนั้นการจัดการโครงการจึงมีความสำคัญมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มต้นมากของอาชีพของผม ผมก็มีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการโครงการ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพผมได้เดินทางไปศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และงานชิ้นสุดท้ายที่ได้รับมอบหมายก่อนออกจากรั้วมหาวิทยาลัยของผมคือการพัฒนาระบบการประเมินบ้าน โดยการทำงานระบบจะเป็นการพิจารณามูลค่าของสินทรัพย์และทำการเปรียบเทียบกับสินทรัพย์อื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ผลการคำนวณจะถูกส่งไปที่ธนาคารโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการกำหนดเงินกู้  เมื่อเวลาคือเงินเราจึงใช้ PDA […]

Read More

การบริหารโครงการระหว่างประเทศแบบ virtual – การผสานกันของเทคโนโลยี และ บุคคลากร

โดย Kevin Taylor, PMP โครงการที่มีการดำเนินกิจกรรมแบบ virtual นั้นอาจมีความซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมทางไกลที่มากกว่าหนึ่งประเทศ สองสิ่งที่ควรคำนึงเมื่อทำงานกับโครงการแบบ virtual คือ เทคโนโลยี และ บุคคลากร เทคโนโลยี สำหรับเทคโนโลยี ข้อจำกัดทางโทรศัพท์และอินเทอร์เนตแบนด์วิดท์มีผลให้การประชุมหารือแบบ virtural เป็นไปได้อย่างไม่ค่อยจะราบรื่นนัก ดังนั้นการเลือกเทคโนโลยีที่ใช่สำหรับคุณต้องการผ่านการคัดสรรอย่างละเอียด อย่างน้อยสิ่งที่ต้องคิดคือเรื่องของอินเตอร์เนตแบนด์วิดท์ ถึงแม้ว่าด้วยระบบสื่อสารใช้งานได้ดีในประเทศที่คุณกำลังทำงานด้วย สิ่งหนึ่งที่คุณยังคงต้องมองไปถึงคือเรื่องซอฟท์แวร์ที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะใช้ อย่างน้อยๆ ตอนนี้มีบริการประชุมทางไกลแบบ web conferencing 14 ประเภท และอีก 13 สำหรับบริการประเภท webinar ชื่อที่คุ้นกันดีเช่น GoToMeeting, WebEx และ Office 365 ถูกจัดลำดับอยู่ในลำดับไม่ค่อยสูงนักในบางรีวิวเนื่องจากฟังก์ชั่นการทำงานและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน บาง webinar เช่น MegaMeeting ซึ่งทำงานแบบออนไลน์และ ไม่จำเป็นต้องมีการลงโปรแกรมใดๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โปรแกรม Skype ของไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในโปรแกรม web conference ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากการใช้งานที่ง่ายถึงแม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้นใช้งานโปรแกรมดังกล่าว สมมติว่าเทคโนโลยีที่คุณมีอยู่ทำงานได้เป็นอย่างดี อะไรกันที่เป็นหัวใจในการจัดประชุมแบบ virtual […]

Read More

สภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีผลต่อการบริหารโครงการหรือไม่?

ผู้เขียน Athrym Ong  ในช่วงเศรษฐกิจขาลงมักเป็นผลให้บริษัทต่างๆลดปริมาณงานบริหารโครงการ บริษัทต่างๆมักจะประหยัดงบประมาณและลดจำนวนโครงการที่มีอยู่ สำหรับองค์กรที่มีโครงการที่เกี่ยวกับงานบริการต่างๆ อาทิ บริษัทก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น บริษัทเหล่านี้อาจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ทำงานสอดประสานกันและคุ้มค่ามากที่สุดด้วยการทำงานหลายๆโครงการในเวลาเดียวกันเป็นต้น สำหรับองค์กรอื่นๆผู้บริหารอาจจะเลือกที่จะใช้บุคคลากรที่มีอยู่เป็นผู้เริ่มการดำเนินงานโครงการมากกว่าที่จะใช้บริการแบบเต็มรูปแบบจากบริษัทที่ปรึกษาภายนอกทั้งหมด เป็นผลให้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆในภาพรวมได้รับผลกระทบ

Read More

ประการณ์ของผมกับการจัดการบริหารโครงการแบบ Lean ที่โตโยต้าประเทศไทย

ผู้เขียน Skon Lapamnuaypol, PMP หนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความนิยมเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ คือหัวข้อเราจะประยุกต์ใช้แนวคิดแบบ Lean อย่างไรในโครงการต่างๆ หรือเรียกว่า “การบริหารจัดการโครงการแบบ Lean” ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีทฤษฏีที่หลากหลาย เช่น การบริหารจัดการโครงการแบบ Agile และการเขียนโปรแกรมแบบ Extreme ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับการยอมรับในวงการ เมื่อพูดเกี่ยวกับ “Lean” โดยส่วนตัวผมมักจะคิดถึงประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับแนวคิดแบบ Lean และการประยุกต์วัฒนธรรมการทำงานในช่วงที่ผมทำงานบริหารโครงการด้านไอทีในโรงงานโตโยต้าประเทศไทย ระบบการผลิตของโตโยต้า หรือ Toyota Production System (TPS) คือที่มาของไอเดียการผลิตแบบ Lean ซึ่งถูกนำมาใช้ในภายหลังโดยอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิไอทีและบริการทางการเงิน ในบทความนี้ผมต้องการที่จะแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้รับในการดำเนินงานโครงการที่โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย

Read More

โปรแกรมและกิจกรรมต่างๆของเราตลอดปี 2013

ผู้เขียน: Ananya Vilaskhamphee ปี 2013 เป็นปีที่บางกอกแชปเตอร์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของโปรแกรมนั้นเราช่วยพัฒนาความรู้ให้กับผู้บริหารโครงการเพื่อให้เขาเหล่านั้นยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ตลอดปีนี้เรายังได้จัดการประชุมประจำเดือนและยังมีการออกไปดูงานนอกสถานที่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกและบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการจัดการอบรมแบบเต็มวันในหัวข้อที่เกี่ยวกับการบริหารโครงการในมุมต่างๆ และตามด้วยคอร์สให้คำแนะนำเกี่ยวกับประกาศนียบัตร PMP

Read More

PMI Thailand Signs an MOU with TPQI

PMI ประเทศไทยและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)  TPQIได้ตกลงเตรียมการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันศุกร์ 9 สิงหาคม เวลา 14:00 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ โดยนายวีระชัย ศรีขจร ผู้อำนวยการสถาบัน และดร.นพดล ปิยะตระภูมิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ดร. เพโทรส รีกัส,  คุณสมพงษ์ ผาจันทา,  ดร. ณรงค์  เหลืองบุตรนาค และคณะจาก PMI ประเทศไทย โดยมีเป้าหมายในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย 

Read More

Agile Project Management – นำธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศรวมเป็นหนึ่งเพื่อผลลัพท์ที่มีประสิทธิภาพ

บทความโดย ไจเวียร์ ซิงส์ หลายสิบปีที่ผ่านมาธุรกิจได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมากเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการและการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ ด้วยราคาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT มีส่วนช่วยให้การปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นจริงได้ และในขณะที่มีการเริ่มนำอะไรก็ตามที่เป็นมาตรฐานของแต่ละธุรกิจเข้ามาใช้งาน มักจะพบว่าในไม่ช้าก็เร็วว่าตัวมาตรฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการ

Read More

เทคนิค Backward Planning สามารถทำให้โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาได้จริงหรือ ?

บทความโดย: คุณสกล ลาภอำนวยผล  คุณเคยได้รับคำแนะนำจากเจ้านายหรือผู้จัดการของคุณหรือไม่ว่า “การที่จะทำงานให้เสร็จทันเวลา คุณต้องเริ่มต้นจากกรอบเวลาที่อยากจะให้งานสำเร็จแล้วคิดย้อนกลับมา ซึ่งคุณคิดว่าคำแนะนำนี้คือเทคนิคการบริหารจัดการเวลาเพื่อให้โครงการเสร็จตรงตามกำหนดเวลาใช่หรือไม่ ในโลกแห่งความจริง โครงการต่างๆ ต้องมีการใช้ทรัพยากรกำลังคน เวลาและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้งานเสร็จภายในแผนที่ตั้งไว้ แน่นอนว่าระยะเวลาการดำเนินงานโครงการจะเป็นไปตามแผน ถ้าปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของความเป็นจริงเท่าไหร่ เพราะในความเป็นจริงการดำเนินงานโครงการนั้นมีการปรับเปลี่ยนปัจจัยต่างๆอยู่เสมอๆ ดังนั้นเราจะมาลองทบทวนและพิจารณาเทคนิค ที่เป็น Best Practice ของการบริหารจัดการโครงการ และ ใน PMBOK ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในกรณีนี้ ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดตารางเวลา อาทิเช่น Microsoft Project (ไมโครซอฟท์ โปรเจ็ค) มีสองเทคนิคที่นิยมใช้ในการจัดตารางเวลา ก็คือ การกำหนดตารางเวลาแบบไปข้างหน้า (ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่า Forward scheduling) และ การกำหนดตารางเวลาแบบย้อนหลัง (ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่า Backward Scheduling) โดยที่ Forward scheduling เป็นเทคนิคที่ผู้จัดการโครงการมีความคุ้นเคยมากที่สุด แนวคิดง่ายๆ คือเพียงแค่ระบุวันที่เริ่มต้นของโครงการ ต่อมาระบุงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับ dependencies (หรือความสัมพันธ์กันระหว่างงาน) และข้อจำกัดอื่น ๆ หลังจากนั้นปล่อยให้เครื่องมือการจัดตารางเวลาทำการคำนวณให้เองโดยอัตโนมัติ […]

Read More
X